DORAEMON

DORAEMON

บทนิยามของความรัก

-ความรักไม่ใช่เส้นบะหมี่ -ความรักไม่ได้มีกันง่าย -ความรักจะเกิดขึ้นระหว่างคนสองคน -ความรักจะไม่ตายไปจากเรา --ความรักไม่ใช่ความใคร่ --ความรักเป็นความห่วงใยและคิดถึง --ความรักไม่ใช่ความต้องการของใครคนนึง --ความรักคือการคิดถึงซึ่งกันและกัน --ความรักไม่ใช่การหลอกลวง --ความรักไม่ใช่การหวงเป็นสิ่งของ --ความรักไม่ต้องการของใครมาจับจอง --ความรักไม่ใช่ของๆใคร -ความรักคือการให้ -ความรักคือการใส่ใจกันและกัน -ความรักไม่ใช่การเอาแต่จะฟัน -ความรักคือความฝันของคนสองคน --ความรักคือการอดทน --ความรักคือการไม่บ่นต่อเวลา --ความรักไม่ตีกรอบความห่วงหา --ความรักเปรียบเหมือนยารักษาใจ -ความรักไม่ใช่การหลอกใช้ -ความรักไม่ใช่การให้เพื่อหวังผล -ความรักคือการให้ของคนสองคน -ความรักไม่กังวลต่อสิ่งลวงตา --ความรักคือความเชื่อใจ --ความรักต้องไม่ระแวงกันและกัน --ความรักคือความเชื่อมั่น --ความรักต้องฝันไปให้ไกล -ความรักคือการให้เวลา -ความรักไม่ใช่บอกว่า"เราไม่ว่าง" -ความรักไม่เหมือนดอกไม้ริมทาง -ที่จะเด็ดดมทิ้งขว้างและเดินจากไป --ความรักอาจดูหอม --ความรักนั้นถอนคืนมาไม่ได้ --ความรักคือรักแล้วทั้งหัวใจ --ความรักคือความเชื่อใจที่มีให้กัน -ความรักอาจดูโง่เขลา -ความรักอาจดูเหมือนเราเป็นบ้า -ความรักต้องพิสูจน์กันที่เวลา -ความรักต้องดูกันว่าใครเปลี่ยนไป

DORAEMON

DORAEMON

Dennis Ritche

Dennis Ritche

ประวัติภาษาซี

ภาษาซีเป็นภาษาที่ถือว่าเป็นทั้งภาษาระดับสูงและระดับต่ำ ถูกพัฒนาโดยเดนนิส
ริดชี (Dennis ritche) แห่งห้องทดลองเบลล์ (Bell laboratories) ที่เมอร์รีฮิล
มลรัฐนิวเจอร์ซี่
โดยเดนนิสได้ใช้หลักการของภาษา
บีซีพีแอล (BCPL : Basic Combine Programming Language) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยเคน
ทอมสัน (Ken tomson) การออกแบบและพัฒนาภาษาซีของเดนนิส ริดชี
มีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาษาสำหรับใช้เขียนโปรแกรมปฏิบัติการระบบยูนิกซ์
และได้ตั้งชื่อว่า ซี (C) เพราะเห็นว่า ซี (C) เป็นตัวอักษรต่อจากบี (B)
ของภาษา BCPL ภาษาซีถือว่าเป็นภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำ ทั้งนี้เพราะ
ภาษาซีมีวิธีใช้ข้อมูลและมีโครงสร้างการควบคุมการทำงานของโปรแกรมเป็นอย่างเดียวกับภาษาของโปรแกรมระดับสูงอื่นๆ
จึงถือว่าเป็นภาษาระดับสูง ในด้านที่ถือว่าภาษาซีเป็นภาษาระดับต่ำ
เพราะภาษาซีมีวิธีการเข้าถึงในระดับต่ำที่สุดของฮาร์ดแวร์
ความสามารถทั้งสองด้านของภาษานี้เป็นสิ่งที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
ความสามารถระดับต่ำทำให้ภาษาซีสามารถใช้เฉพาะเครื่องได้ และความสามารถระดับสูง
ทำให้ภาษาซีเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์
ภาษาซีสามารถสร้างรหัสภาษาเครื่องซึ่งตรงกับชนิดของข้อมูลนั้นได้เอง
ทำให้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีที่เขียนบนเครื่องหนึ่ง
สามารถนำไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่งได้ ประกอบกับการใช้พอยน์เตอร์ในภาษาซี
นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร

ภาษาซีเป็นภาษาที่มีลักษณะเด่นพอสรุปได้ดังนี้
-
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนาขึ้นใช้งานเพื่อเป็นภาษามาตรฐานที่ไม่ขึ้นกับโปรแกรมจัดระบบงานและไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์
- เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่อาศัยหลักการที่เรียกว่า "โปรแกรมโครงสร้าง"
จึงเป็นภาษาที่เหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมระบบ
-
เป็นคอมไพเลอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ให้รหัสออบเจ็กต์สั้น ทำงานได้รวดเร็ว
เหมาะกับงานที่ต้องการ ความรวดเร็วเป็นสำคัญ
-
มีความคล่องตัวคล้ายภาษาแอสแซมบลี ภาษาซีสามารถเขียนแทนภาษาแอสแซมบลีได้ดี
ค้นหาที่ผิดหรือ แก้โปรแกรมได้ง่าย
ภาษาซีจึงเป็นภาษาระดับสูงที่ทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ
-
มีความคล่องตัวที่จะประยุกต์เข้ากับงานต่างๆ ได้เป็นอย่างดี การพัฒนาโปรแกรม เช่น
เวิร์ดโพรเซสซิ่ง สเปรดชีต ดาตาเบส ฯลฯ
มักใช้ภาษาซีเป็นภาษาสำหรับการพัฒนา
-
เป็นภาษาที่มีอยู่บนเกือบทุกโปรแกรมจัดระบบงาน มีในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตั้งแต่
8 บิต ไปจนถึง 32 บิต เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรม
-
เป็นภาษาที่รวมข้อดีเด่นในเรื่องการพัฒนา
จนทำให้ป็นภาษาที่มีผู้สนใจมากมายที่จะเรียนรู้หลักการของภาษา
และวิธีการเขียนโปรแกรม ตลอดจนการพัฒนางานบนภาษานี้


วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำสั่งเบื้องต้นของภาษา C
1. คำสั่ง scanf() เป็นฟังก์ชันที่รับค่าจากอุปกรณ์นำเข้ามาตรฐาน และนำค่าที่ได้เก็บไว้ในตัวแปรในโปรแกรม
รูปแบบคำสั่ง



เมื่อโปรแกรมทำงานถึงฟังก์ชันนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนข้อมูล โดยข้อมูลที่ป้อนจะแสดงบนจอภาพ เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จกด Enter ข้อมูลทั้งหมดจะเก็บในตัวแปร var ชนิดของข้อมูลที่กำหนดให้กับตัวแปร var จะถูกกำหนดโดยตัวกำหนดชนิดข้อมูลซึ่งระบุในส่วนของ format code ตัวกำหนดชนิดข้อมูลของฟังก์ชัน scanf() จะเหมือนกับของฟังก์ชันprintf() ฟังก์ชัน scanf() จะทำให้เคอร์เซอร์ ขึ้นบรรทัดใหม่หลังจากกด Enter
ตัวอย่าง
#include "stdio.h"
#include "conio.h"
void main()
{ int a,b,c; clrscr();
printf("Enter three integer numbers : ");
scanf("%d%d%d",&a,&b,&c);
printf("a = %d b = %d c = %d \n",a,b,c);
}

เป็นการป้อนเลขจำนวนเต็ม 3 ตัวให้กับตัวแปร a,b และ c ในการป้อนตัวเลขให้เว้น ช่องว่างระหว่างตัวเลขแต่ละชุดซึ่ง scanf() จะข้อมช่องว่างไปจนกระทั่งพบตัวเลขจึงจะอ่านข้อมูลอีกครั้ง
2. ฟังก์ชั่น printf()
เป็นฟังก์ชั่นใช้ พิ
มพ์ค่าข้อมูลไปยังหน้าจอคอมพิวเตอร์




ตัวอย่าง
การใช้งานฟังก์ชัน printfint i = 10; printf(“\n test %d”,i);
รหัสรูปแบบ (Format Code) ที่ใช้ในการแสดงผล ใช้ร่วมกับรหัส back slash(ในที่นี้คือ \n ซึ่งหมายถึง ขึ้นบรรทัดใหม่) และเครื่องหมาย % ซึ่งมีความหมายดังนี้
%d ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็มฐานสิบ
%ld ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็มฐานสิบแบบ long
%u ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็มฐานสิบแบบ unsigned
%c ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นตัวอักษร
%s ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นตัวแปรสตริงหรือชุดตัวอักษร
%o ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขฐานแปด
%x ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขฐานสิบหก
%f ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยม ที่ไม่มีเลขยกกำลัง
%e ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยม ที่มีเลขชี้กำลัง
%lf ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยมแบบ double

สามารถดัดแปลงเพื่อใช้เป็นตัวกำหนดชนิดข้อมูลอื่นๆได้โดย โมดิฟายเออร์ (modifier) l,h และL โมดิฟายเออร์ l จะสามารถใช้กับตัวกำหนดชนิดข้อมูล %d, %o , %u และ %x เพื่อใช้กับข้อมูลชนิดยาวเช่น %ld หมายถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวนเต็มยาวโมดิฟายเออร์ h จะใช้ในลักษณะเดียวกันกับข้อมูลชนิดสั้น เช่น %hd หมายถึง ข้อมูลชนิดเลขจำนวนเต็มสั้นสำหรับข้อมูลชนิดทศนิยมจะมีโมดิฟายเออร์ l และ L โดย l จะหมายถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวนจริงละเอียด 2 เท่า ส่วน L จะหมายถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวนจริงรายละเอียด 2 เท่า เช่น %lf หมายถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวนจริงละเอียด 2 เท่า
ตัวอย่าง
#include
#include void main(void)
{
int n;
clrscr();
n=100;
printf("Number = %d",n);
getch();
}
3. ฟังก์ชัน getchar() ฟังก์ชัน getchar() ใช้สำหรับป้อนตัวอักษรผ่านทางแป้นพิมพ์โดยจะรับตัวอักษรเพียง 1 ตัวเท่านั้น และแสดงตัวอักษรบนจอภาพ
รูปแบบคำสั่ง



เมื่อโปรแกรมทำงานถึงคำสั่งนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนตัวอักษร 1 ตัว หลังจากนั้นกด Enter ตัวอักษรที่ป้อนจะถูกเก็บไว้ในตัวแปร ch ซึ่งเป็นชนิดตัวอักษรและเคอร์เซอร์จะขึ้นบรรทัดใหม่ ฟังก์ชัน getchar() กำหนดในไฟล์ stdio.h เช่นเดียวกับฟังก์ชัน scanf()
ตัวอย่าง
#include void main()
{
char ch;
printf("Type one character ");
ch = getchar();
printf("The character you type is %c \n",ch);
printf("The character you typed is ");
putchar(ch);
}
การใช้ฟังก์ชัน putchar() แทน printf() จะพิมพ์ตัวอักษร 1 ตัว และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่
4. คำสั่ง getche(); และ getch();
คำสั่ง getche(); จะรับตัวอักษร 1 ตัวที่ป้อนทางแป้นพิมพ์
รูปแบบคำสั่ง getche();



ความหมายch หมายถึง ตัวแปรชนิดตัวอักษร
แสดงตัวอักษรบนจอภาพ เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จไม่ต้องกด Enter และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ ฟังก์ชัน getch() จะคล้ายกับฟังก์ชัน getche() ต่างกันตรงที่จะไม่แสดงตัวอักษรขณะป้อนข้อมูล ฟังก์ชัน getche() และ getch() กำหนดในไฟล์ conio.h ดังนั้นจะต้องระบุไฟล์ดังกล่าวในโปรแกรม
ตัวอย่าง คำสั่ง getche();
#include "stdio.h"
#include "conio.h"
void main(void)
}
char answer;
clrscr();
printf("Enter A Character : ");
answer=getche();
printf("\n");
printf("A Character is : %c\n",answer);
getch();
}
คำสั่งgetch();
คือฟังก์ชันที่ใช้สำหรับรับข้อมูลชนิดตัวอักษร ผ่านแป้นพิมพ์ 1 ตัวอักษร
รูปแบบคำสั่ง getch();



จะไม่แสดงตัวอักษรบนจอภาพ เมื่อป้อนตัวอักษรเสร็จแล้ว ไม่ต้องกด Enter และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ และเป็นฟังก์ชันที่กำหนดอยู่ในไฟล์ conio.h รูปแบบคำสั่ง ความหมาย
ตัวอย่าง คำสั่ง getch();
#include
#include
void main(void)
{
char answer;
clrscr();
printf("Enter A Character :");
answer=getch();
printf("\n");
printf("A Character is : ");
putchar(answer);
getch();
}
5. ฟังก์ชัน gets() ฟังก์ชัน gets() ใช้สำหรับข้อมูลชนิดสตริงก์หรือข้อความซึ่งป้อนทางแป้นพิมพ์
รูปแบบคำสั่ง




เมื่อโปรแกรมทำงานถึงคำสั่งนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนข้อความ เมื่อป้อนเสร็จแล้วกด Enter ข้อความ ทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในอาร์เรย์สตริงก์ str โดย carriage return (จากการกด Enter) จะแทนด้วยสตริงก์ศูนย์ ฟังก์ชัน gets() จะทำให้เคอร์เซอร์ขึ้นบรรทัดใหม่ หลังจากกด Enter กำหนดในไฟล์ stdio.h
ตัวอย่าง
#include”stdio.h”
main()
{
char message[50];
printf(“ Enter a message(less than 49 characters)\n”);
gets(message);
printf(“ The message you entered is %s\n”,message);
}